Blog Spacial

บุคคลตัวอย่าง



พี่เสือน้อย (พี่พอลลี่) นายพล (โกมลบุตร) สัตย์สงวน
นิสิตคณะพละศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประวัติด้านการศึกษา
จบ ปริญญาตรี 11 ใบ ปริญญาโท 1 ใบ
กำลังศึกษาปริญญาเอก และปริญญาตรีใบที่ 12 ชั้นปีที่ 3 ที่ มศว


ด้านอาชีพ
1. เป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (สจ๊วต)
2. เป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนสัตย์สงวนวิทยา (งานของครอบครัว)
3. เขียนหนังสือ และเขียนบทความเกี่ยวกับการท่องเที่ยวให้นิตยสารต่างๆ
4. เป็นวิทยากรรับเชิญบรรยายเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ
ผลงานการเขียน
1. บินร้อยแปด แรดร้อยก้าว
2. หัวหกก้นขวิด ชีวิตสจ๊วต
3. attention, please ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ (สำนักพิมพ์ a book)
4. พอลลี่ กะ ผี (สำนักพิมพ์มติชน) กำลังพิมพ์อยู่

ด้านครอบครัว
มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรชายคนเล็ก (ยังโสด) มีพี่ชาย 1 คน

หมายเหตุ
เพิ่งเปลี่ยนนามสกุลจาก “โกมลบุตร” มาเป็น “สัตย์สงวน” เมื่อไม่นานนี้
เหตุผลเพื่อดูแลกิจการโรงเรียนของครอบครัว ชื่อโรงเรียนสัตย์สงวนวิทยา

เหตุผลที่เลือกเป็นบุคคลตัวอย่าง
พี่เสือน้อยเป็นคนที่รู้จักแบ่งเวลาได้เหมาะสมทั้งการใช้ชีวิต การทำงาน และเรียนไปพร้อมๆกัน
กิจกรรมต่างๆของทางมหาวิทยาลัยก็เข้าร่วมเสมอ
อีกทั้งยังแสดงให้รู้ว่า "คนเราไม่มีวันแก่เกินเรียน"




-----------------------------------------------------------------------------

เกร็ดความรู้มาแว้ววววววว!!!!
1. ต่อ R series ค่าคงที่น้อย ๆ วัตต์สูง แล้ววัด Volt ตกคร่อม R คำนวณกลับได้ I = V/R : ใหญ่ ร้อน ช่วงใช้งานแคบ
2.Current Sensor : ใช้หลักการของ Hall Effect Sensor เกี่ยวกับสนามแม่เหล็กในระดับ element ตัวเซนเซอร์ ตัวนี้จับเอามารวมไว้ในแพคเกจเล็ก ๆ มีขายที่ es แพงหน่อยแต่วงจรง่าย
3.Current Transformer : หลักการเหมือนหม้อแปลง คือเอาแกนเหล็กไปคล้องสายไฟ แล้ววัดสนามแม่เหล็กที่ Air-Gap ของแกนเหล็กด้วย Hall Sensor หรือถ้าเป็นไฟ AC ก็พัน Secondary มาวัดแรงดันไฟฟ้า


-----------------------------------------------------------------------------

จากข้อมูลที่แฟนๆนักอ่านได้อ่านของแต่ละเรื่อง ทุกๆคนอาจจะยังสงสัย

(a: อะไรก็ไม่รู้???งง??)
(b: นู๋ไม่เห็นจารู้เรื่องอายัยเยย T^T)
(c: ใช้ทำอารายในชีวิตประจำวันได้บ้างอ่ะ O_o!!)

แต่ละเรื่องสามารถนำมาใช้ประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งบางอย่างเราอาจจะใช้ในชีวิตประจำวันของเราเอง



จุ๊จุ๊.....ถ้าอยากรู้ก็ลองติดตามอ่านต่อไปนะจ๊ะ :]


V
V
V
V
V


ก่อนอื่นก็ต้องขอโทษแฟนๆนักอ่านทุกคนด้วยนะ ที่เราเอาข้อมูลมาลงช้าเกินไป (ไม่ทราบว่าทำไรอยู่ค่ะ....เดินแบบอยู่ค่ะ^^) ในเรื่องต่างๆที่ได้ศึกษามานั้นเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเราที่ทุกคนอาจจะไม่รู้ก็ได้ มาเริ่มรู้จักันเลยจ้า




Hall Effect sensor แบบง่ายๆในพัดลมที่ระบายความร้อนในคอมพิวเตอร์

เมื่อแกะรื้อดูจะเห็นว่าเป็น DC Motor แบบใช้แม่เหล็กถาวรแบบไม่ใช้แปลงถ่าน แต่จะมี Hall Effect sensor เป็นตัวสั่งให้ IC ที่อยู่ในแผงวงจรเล็กๆ (ที่ติดอยู่ภายในตัว) ว่าจะส่งไฟไปที่ขดลวดอย่างไรเมื่อจังหวะเวลาไหน (ตัว Hall Effect sensor เป็นตัวแบนๆ มี 3 ขา)

การทำงานของมัน เมื่อต่อไฟเข้าไปจะมีสัญญาณขาออกทุกครั้งที่มีสนามแม่เหล็กเข้ามาใกล้ๆ เราจะเอาสัญญาณนี้ไปนับรอบการหมุนของใบพัด แล้วมาเปรียบเทียบเป็นความเร็วลมที่ไหลผ่าน นั้นก็คือทุกครั้งที่มีสนามแม่เหล็ก ตัว Hall Effect จะนำกระแสได้ ดังนั้นก็เหมือนการปล่อยสัญญานออกมา แม่เหล็กที่ติดอยู่กับใบพัดเมื่อหมุนไปก็เหมือนกับ ตัวสั่งให้ เกิดการนำกระแสที่ขั้วแม่เหล็กหมุนผ่านมา ดังนั้นในการหมุนของใบพัดก็จะนับได้โดยการนับจำนวนครั้งของขั้วแม่เหล็กที่หมุนผ่านตัวเซนเซอร์ เมื่อนับจำนวนครั้งที่มีการนำกระแสต่อหน่วยเวลาก็จะรู้ว่าใบพัดหมุนเร็วเท่าใด


เช่น ทุก 1 รอบที่หมุนจะให้สัญญานออกมา 4 ครั้ง ดังนั้น ใน 1 วินาที หากนับได้ 100 ครั้ง ก็แปลว่า มันหมุน 25 รอบต่อวินาที หรือ 25 X 60 = 1500 รอบ ต่อนาที และความเร็วลมที่ ทำให้มันหมุนด้วยความเร็วขนาดนี้มีเท่ากับ 10 กม/ชมก็ทำให้รู้ว่าหากมันหมุนนับได้ 100 ครั้งต่อวินาที (เครื่องนับความถี่ทั่วๆไปจะนับเป็น ครั้งต่อวินาที (Frequency/Second)) ความเร็วลมก็จะเป็น 10กม/ชม

(ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=23632&sid=4ad5aea020f3fd771d4c63140ef38ac9)



HALL EFFECT SENSOR ในล้อของจักรยานและมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า

HALL EFFECT SENSOR ที่อยู่ในล้อของจักรยานและมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า จะมีการใช้งานกับ MOTOR ชนิด BRUSHLESS เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ 3 PHASE DC. BRUSHLESS HUB MOTOR นั้นเอง โดยมันจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปที่กล่องควบคุม MOTOR เพื่อทำการตัดต่อหรือสลับขั้วของกระแสไฟฟ้าในแต่ละ PHASE WINDING นั้นก็คือทำหน้าที่เป็น COMMUTATOR เหมือนใน MOTOR ชนิดใช้แปรงถ่านนั้นเอง ในหนึ่ง MOTOR ภายในจะประกอบไปด้วย HALL EFFECT SENSOR 3ตัว HALL EFFECT SENSOR นี้ มีการทำงานแตกต่างจากที่อยู่ในมือบิดคันเร่ง คือ เป็นชนิด BIPOLAR หรือ LATCHING ทำหน้าที่เพียงส่งสัญญาณ ON – OFF หรือ LOGIC 0 – 1 เท่านั้น ในจักรยานและมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าจะใช้ไฟควบคุม 5 V.ดังนั้นสัญญาณที่ได้ก็คือ 0 V.หรือ 5 V. การทำงานของ SENSOR ชนิดนี้จะรับสัญญาณจากสนามแม่เหล็กถาวรภายใน MOTOR (MOTORกับล้อถือเป็นชิ้นเดียวกัน ) ซึ่งจะวางสลับขั้วเหนือและใต้กันอยู่ โดยเมื่อ SENSOR ได้รับสนามแม่เหล็กขั้วใต้ระบบจะให้ OUTPUT ON หรือประมาณ 0 V. และจะค้างอยู่เช่นนี้จนกว่า SENSOR จะได้รับสนามแม่เหล็กขั้วเหนือโดยจะให้ OUTPUT OFF หรือประมาณ 5V.(ระบบ SENSOR ทำงานชนิด OPEN COLLECTOR) ซึ่งการทำงานทั้งหมดจะสลับกันเช่นนี้ตลอดไปในขณะที่ล้อหมุนอยู่

(ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.kaxga.com/webboard_713491_11222_th?lang=th)


หวังว่าแฟนๆนักอ่านทุกคนจะเข้าใจใน Hall Effect sensor มากขึ้นนะ บ้างครั้งการเรียนรู้เรื่องทฤษฎีอาจจะทำให้เรานึกภาพไม่ออก แต่ถ้าเราลองได้เห็นการประยุกต์งานแล้วเราอาจจะเข้าใจกลไกลการทำงานของมันมากขึ้นก็ได้