วัดความเร็วรอบมอเตอร์

การวัดระยะการหมุน

มาตรอัตรารอบ (tachometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดการหมุนของเพลา ล้อ หรือ โรเตอร์ ในมอเตอร์หรือเครื่องจักรต่างๆ โดยปกติแล้วจะแสดงผลอยู่ในรูปของจำนวนรอบต่อนาที (rpm) มาตรอัตรารอบมีหลายแบบขึ้นกับหลักการทำงาน ตัวอย่างเช่น อาศัยหลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยที่ความต่างศักย์ที่ส่งออกมาแปรผันตรงกับความเร็วเชิงมุมที่วัด หรือ อาศัยหลักการตรวจนับสัญญาณพัลส์ที่มีการส่งออกมาเมื่อมีการหมุนครบรอบในช่วงเวลาหนึ่ง หรือ อาศัยหลักการสะท้อนของแสง มาตรอัตรารอบมีทั้งแบบสัมผัสและไม่สัมผัส รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างการใช้งานมาตรอัตรารอบในลักษณะต่างๆ


TACHOMETER.


1. Tachometer





Tachometer สามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนกลับได้ โดยส่วนมากจะใช้ป้อนกลับอัตราเร็วของมอเตอร์ การทำงานใช้หลักการง่ายคือนำดีซีมอเตอร์แบบแม่เหล็กถาวรต่อเข้ากับแกนของมอเตอร์ที่ต้องการควบคุม นั่นคือหากมอเตอร์ที่เราต้องการควบคุมเกิดหมุน ดีซีมอเอตร์ก็ให้ค่าความต่างศักย์ออกมา เราสามารถนำค่า ความต่างศักย์นี้ไปใช้เป็นสัญญาณป้อนกลับให้กับระบบควบคุมได้



ดีซีมอเตอร์แบบแม่เหล็กถาวรขนาดเล็กนิยมนำมาใช้เป็นตัวป้อนกลับอัตราเร็วของระบบเซอร์โวโดยจะต้อง มีการชดเชยความคลาดเคลื่อนจากอุณหภูมิรวมทั้งใช้ silver เป็นคอมมิวเตเตอร์เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือเมื่อ ใช้งานที่อัตราเร็วต่ำๆหรือกระแสต่ำๆ ดังนั้นรับบเซอร์โวจึงนิยมติด Tachometer (Small permanent magnet DC motor) เข้ากับระบบเลย ดังรูป






มาตรวัดรอบ (TACHO METER) RPM


สำหรับมาตรวัดรอบ ก็เหมือนกับมาตรวัดความร้อน คือรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งมา ให้จากโรงงานอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่มีบางคนต้องไปติดเพิ่มอาจจะมาจากเหตุผลต่างกันไป บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสร้างความสวยงาม หรือความเท่ แต่กับบางคนอาจ จะเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ อย่างรถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายเปลี่ยนไปใช้แคมฯ องศาสูงมาก ๆ จนทำให้สามารถเร่งรอบได้มากกว่าเดิม ซึ่งวัดรอบที่มีติดมากับรถ ไม่สามารถแสดงข้อมูล ได้เพียงพอ จึงต้องหาอันใหม่มาติดเข้าไป หรือในรถยนต์ที่ทำขึ้นมาสำหรับการแข่งขัน ควอเตอร์ไมล์ซึ่งจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ ถือเป็นสิ่งที่ต้องการให้ความสำคัญมาก การตัดสิน แพ้ชนะอยู่ที่เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ดังนั้นมาตรวัดรอบที่มาพร้อมไฟเตือน จึงกลายเป็น อุปกรณ์ช่วยได้อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามการแพ้ชนะไม่ได้เพียงอุปกรณ์ที่ว่าเท่านั้น จังหวะ ฝีมือ สมาธิ ในการเปลี่ยนเกียร์ของผู้ขับขี่เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า




ขอบคุณข้อมูล



http://ptkrobot.blogspot.com/2009/06/1_23.html